ทำไมพฤษภาถึงร้อนกว่าเมษา ทั้งที่เข้า ฤดูฝน สถาบันสารสนเทศน์ทรัพยากรน้ำไขข้อสงสัยเป็นเพราะฝนตกน้อยและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นลมฤดูฝนพัดมาน้อย นายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศน์ทรัพยากรน้ำ(สสน.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.)ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ “คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ” ให้สัมภาษณ์ผ่านมติชน ตอบข้อสงสัย ทำไมพฤษภาถึงร้อนกว่าเมษา กรณีอากาศร้อนมากผิดปกติในเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน ทั้งๆที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม
ผู้อำนวยการ สสน. กล่าวว่า แม้ไทยจะเข้าฤดูฝนตั้งแต่ พ.ค.ที่ผ่านมา
แต่เมื่อฝนตกน้อยจึงทำให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมาบนพื้นผิวดิน ความร้อนสะสมตัวทั้งบนถนนและอาคาร บ้านเรือนต่าง ๆ โดยเฉพาะในเมืองที่มีตึกสูงจำนวนมาก เช่น กรุงเทพมหานครได้รับแสงอาทิตย์เต็มที่ บวกกับกระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นลมฤดูฝนพัดมาน้อยลง เป็นเหตุให้เดือนพฤษภาคมมาถึงต้นเดือนมิถุนายน อากาศจึงร้อนกว่าเดือนเมษายนที่เป็นฤดูร้อนมาก โดยช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยช่วงเวลากลางวันจะอยู่ที่ 39-41 องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมิกลางแดดหรือกลางแจ้งอาจจะสูงกว่านี้
อีกทั้งแม้จะมีการประกาศว่าเข้าสู่ฤดูฝน แต่เป็นการประกาศตามสภาพของลมและสภาพอุตุนิยมวิทยา แต่ฝนในเดือนพฤษภาคมนั้นน้อยกว่าฝนในเดือนเมษายน ซึ่งสภาพฝนจะมีลักษณะ มาในช่วงสัปดาห์แรกในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นฝนก็จะน้อยลง จนเข้าสู่ต้นเดือนมิถุนายน ฝนน้อยลงมาก ทำให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมาบนพื้นผิวดิน ความร้อนสะสมตัว ไม่ว่าบนพื้นถนน และตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ
ขณะเดียวกันยังพบว่า เมื่อ 2-3 วันก่อนหน้านี้ที่มีอากาศร้อนมาก เป็นเพราะมีความกดอากาศต่ำ ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ท้องฟ้ากลับมีเมฆน้อยมาก หรือบางพื้นที่ไม่มีเมฆมาบังแสงอาทิตย์เลย จึงยังคงทำให้มีอากาศร้อนอยู่
ทั้งนี้คาดว่าช่วงต้นสัปดาห์หน้าอุณหภูมิจะลดลงเนื่องจากจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นบริเวณประเทศเมียนมา และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก็จะกลับมาพัดแรงขึ้น ทำให้หลายพื้นที่ ของประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตะวันตกมีฝนตกเพิ่มขึ้น
ม.มหิดล เชื่อมั่นพร้อมเป็นผู้นำ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ระดับโลก
ม.มหิดล มีความเชื่อมั่นที่จะพร้อมเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ระดับโลก จากความสำเร็จที่เกี่ยวข้อง และการผลักดันในแนวทางดังกล่าว นับตั้งแต่ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ได้ประกาศปฏิรูปยกระดับอุดมศึกษาไทย (Reinventing University) ให้ทัดเทียมระดับสากลเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 นั้น
มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาระดับแนวหน้าของไทยได้สนองรับนโยบายดังกล่าวด้วยการวางยุทธศาสตร์ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลก ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญนั้น คือ การพัฒนา หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotic)
ขับเคลื่อนโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีฯผู้ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยคนปัจจุบันเมื่อเร็วๆ นี้
จากผลงานที่โดดเด่นด้านการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ จนได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (TCELS) ก่อสร้างอาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) เพื่อการทดสอบ ตรวจประเมิน และผลักดันสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์ทางการแพทย์สู่ภาคอุตสาหกรรมระดับโลก ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.2565
ซึ่งเป็นโอกาสที่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022 รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ศุทธากรณ์ ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่พร้อมจะบรรลุเป้าหมายแห่งยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ระดับโลก
ล่าสุด รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ ได้บรรลุความสำเร็จในการผลักดันให้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เข้ากระบวนการการรับรองมาตรฐานการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับโลก ABET (Accreditation Board for Engineering and Technology) จาก The Engineers’ Council for Professional Development (ECPD) ประเทศสหรัฐอเมริกา ครบเกือบทุกด้าน
และเมื่ออาคารหน่วยปฏิบัติการหุ่นยนต์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Robotics Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับชาติที่มีสถานที่ตั้ง ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาก่อสร้างแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่ทำให้งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะไม่ได้ตอบโจทย์แค่ระดับในประเทศ แต่จะขยายผลสู่ระดับโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่เป็น Active Medical Device หรือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการเคลื่อนไหวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมุ่งที่จะทำให้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ไทย ได้มีที่ยืนบนแผนที่โลก เฉกเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก อาทิ Johns Hopskin University ประเทศสหรัฐอเมริกา Imperial College London สหราชอาณาจักร University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่นShanghai Jiao Tong University (SJTU) สาธารณรัฐประชาชนจีน National Chengkung University ประเทศไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งเป็นเครือข่ายยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดประตูมหาวิทยาลัยไทยสู่ระดับโลก
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป